รูปแบบของวงดนตรีในประเทศไทยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับวงมังคละเภรี
ดนตรีพื้นบ้านเป็นเสียงดนตรีที่ถ่ายทอดกันมาด้วยวาจาซึ่งเรียนรู้ผ่านการฟังมากกว่าการอ่าน และเป็นสิ่งที่พูดต่อกันมาแบบปากต่อปากโดยไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นลักษณะการสืบทอด ทางวัฒนธรรมของชาวบ้านตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นกิจกรรมการดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด จากการทำงานและช่วยสร้างสรรค์ความรื่นเริงบันเทิงเป็น
หมู่คณะและชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นซึ่งจะทำให้เกิด ความรักสามัคคีกันในท้องถิ่นและปฏิบัติสืบทอดต่อมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางพื้นบ้านของท้องถิ่นนั้น ๆ สืบต่อไป
ดนตรีพื้นบ้านของไทยนั้น สามารถแบ่งออกตามภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยได้ดังนี้
หมู่คณะและชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นซึ่งจะทำให้เกิด ความรักสามัคคีกันในท้องถิ่นและปฏิบัติสืบทอดต่อมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางพื้นบ้านของท้องถิ่นนั้น ๆ สืบต่อไป
ดนตรีพื้นบ้านของไทยนั้น สามารถแบ่งออกตามภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยได้ดังนี้
ดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า โดยเครื่องดีดได้แก่ จะเข้และจ้องหน่อง เครื่องสีได้แก่ ซอด้วงและซออู้ เครื่องตีได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทอง ระนาดทุ้มเล็ก ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบและกรับ เครื่องเป่าได้แก่ ขลุ่ยและปี่ ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง คือ วงปี่พาทย์ของภาคกลางจะมีการพัฒนาในลักษณะผสมผสานกับดนตรีหลวง โดยมี
การพัฒนาจากดนตรีปี่และกลองเป็นหลักมาเป็นระนาดและฆ้องวงพร้อมทั้งเพิ่มเครื่องดนตรี มากขึ้นจนเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังมีการขับร้องที่คล้ายคลึงกับปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายโยงทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์และหลวง
การพัฒนาจากดนตรีปี่และกลองเป็นหลักมาเป็นระนาดและฆ้องวงพร้อมทั้งเพิ่มเครื่องดนตรี มากขึ้นจนเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังมีการขับร้องที่คล้ายคลึงกับปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายโยงทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์และหลวง
ดนตรีพื้นเมืองบ้านภาคเหนือ ในยุคแรกจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ท่อนไม้กลวง
ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ในเรื่องภูตผีปีศาจและเจ้าป่า เจ้าเขา จากนั้น ได้มีการพัฒนาโดยนำหนังสัตว์มาขึงที่ปากท่อนไม้กลวงไว้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่เรียนกว่ากลอง ต่อมามีการพัฒนารูปแบบของกลองให้แตกต่างออกไป เช่น กลองที่ขึงปิดด้วยหนังสัตว์เพียงหน้าเดียว ได้แก่ กลองรำมะนา กลองยาว กลองแอว และกลองที่ขึงด้วยหนังสัตว์ทั้งสองหน้า ได้แก่ กลองมองเซิง กลองสองหน้า และตะโพนมอญ นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ เช่น ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ขลุ่ย ย่ะเอ้ ปี่แน ปี่มอญ ปีสรไน และเครื่องสี ได้แก่ สะล้อลูก 5 สะล้อลูก 4 และ สะล้อ 3 สาย และเครื่องดีด ได้แก่ พิณเปี๊ยะ และซึง 3 ขนาด คือ ซึงน้อย ซึงกลาง และซึงใหญ่ สำหรับลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ คือ มีการนำเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า มาผสมวงกันให้มีความสมบูรณ์และไพเราะ โดยเฉพาะในด้านสำเนียงและทำนองที่พลิ้วไหวตามบรรยากาศ ความนุ่มนวลอ่อนละมุนของธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการผสมทางวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ และยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในราชสำนักทำให้เกิดการถ่ายโยง และการบรรเลงดนตรีได้ทั้งในแบบราชสำนักของคุ้มและวัง และแบบพื้นบ้านมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ในเรื่องภูตผีปีศาจและเจ้าป่า เจ้าเขา จากนั้น ได้มีการพัฒนาโดยนำหนังสัตว์มาขึงที่ปากท่อนไม้กลวงไว้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่เรียนกว่ากลอง ต่อมามีการพัฒนารูปแบบของกลองให้แตกต่างออกไป เช่น กลองที่ขึงปิดด้วยหนังสัตว์เพียงหน้าเดียว ได้แก่ กลองรำมะนา กลองยาว กลองแอว และกลองที่ขึงด้วยหนังสัตว์ทั้งสองหน้า ได้แก่ กลองมองเซิง กลองสองหน้า และตะโพนมอญ นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ เช่น ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ขลุ่ย ย่ะเอ้ ปี่แน ปี่มอญ ปีสรไน และเครื่องสี ได้แก่ สะล้อลูก 5 สะล้อลูก 4 และ สะล้อ 3 สาย และเครื่องดีด ได้แก่ พิณเปี๊ยะ และซึง 3 ขนาด คือ ซึงน้อย ซึงกลาง และซึงใหญ่ สำหรับลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ คือ มีการนำเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า มาผสมวงกันให้มีความสมบูรณ์และไพเราะ โดยเฉพาะในด้านสำเนียงและทำนองที่พลิ้วไหวตามบรรยากาศ ความนุ่มนวลอ่อนละมุนของธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการผสมทางวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ และยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในราชสำนักทำให้เกิดการถ่ายโยง และการบรรเลงดนตรีได้ทั้งในแบบราชสำนักของคุ้มและวัง และแบบพื้นบ้านมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
ดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) มีวิวัฒนาการมายาวนานนับพันปี เริ่มจากในระยะต้น มีการใช้วัสดุท้องถิ่นมาทำเลียนสียงจากธรรมชาติ ป่าเขา เสียงลมพัดใบไม้ไหว เสียงน้ำตก เสียงฝนตก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงสั้นไม่ก้อง ในระยะต่อมาได้ใช้วัสดุพื้นเมืองจากธรรมชาติมาเป่า เช่น ใบไม้ ผิวไม้ ต้นหญ้าปล้องไม้ไผ่ ทำให้เสียงมีความพลิ้วยาวขึ้น จนในระยะที่ 3 ได้นำหนังสัตว์และเครื่องหนังมาใช้เป็นวัสดุสร้างเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะและรูปร่างสวยงามขึ้น เช่น กรับ เกราะ ระนาด ฆ้อง กลอง โปง โหวด ปี พิณ โปงลาง แคน เป็นต้น โดยนำมาผสมผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานที่มีลักษณะเฉพาะตามพื้นที่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอีสานเหนือ และอีสานกลางจะนิยมดนตรีหมอลำที่มีการเป่าแคนและดีดพิณประสานเสียงร่วมกับการขับร้อง ส่วนกลุ่มอีสานใต้จะนิยมดนตรีกันตรึมซึ่งเป็นดนตรีบรรเลงที่ไพเราะของชาวอีสานใต้ที่มีเชื้อสายเขมร นอกจากนี้ยังมีวงพิณพาทย์และวงมโหรีด้วยชาวบ้านแต่ละกลุ่มก็จะบรรเลงดนตรีเหล่านี้กันเพื่อ ความสนุกสนานครื้นเครง ใช้ประกอบการละเล่น การแสดง และพิธีกรรมต่าง ๆเช่น ลำผีฟ้า ที่ใช้แคนเป่าในการรักษาโรค และงามศพแบบอีสานที่ใช้วงตุ้มโมงบรรเลง นับเป็นลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านอีสานที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ
ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดรตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่า จะมาจากพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม่ไผ่ลำขนาด ต่าง ๆ กันตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แลัวตัดปากกของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับ
หุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น รำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนรา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเป่าเช่น ปี่นอกและเครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ รวมทั้งความเจริญทางศิลปะการแสดงและดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่าละคอน ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นล้วนได้รับอิทธิพลมาจากภาคกลางนอกจากนี้ยังมีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ประกอบการละเล่นแสดงต่างๆ เช่น ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และเครื่องดนตรีประกอบผสมอื่น ๆ ดนตรีลิเกป่าที่ใช้เครื่องดนตรีรำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี่ และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบอย่างมาจาก
การเต้นรำของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง หรือบางคณะก็เพิ่มกีต้าร์เข้าไปด้วย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เป็นที่นิยมในหมู่
ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดน ไทย- มาเลเซีย ดังนั้นลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
ที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก
เป็นต้น
หุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น รำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนรา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเป่าเช่น ปี่นอกและเครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ รวมทั้งความเจริญทางศิลปะการแสดงและดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่าละคอน ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นล้วนได้รับอิทธิพลมาจากภาคกลางนอกจากนี้ยังมีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ประกอบการละเล่นแสดงต่างๆ เช่น ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และเครื่องดนตรีประกอบผสมอื่น ๆ ดนตรีลิเกป่าที่ใช้เครื่องดนตรีรำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี่ และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบอย่างมาจาก
การเต้นรำของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง หรือบางคณะก็เพิ่มกีต้าร์เข้าไปด้วย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เป็นที่นิยมในหมู่
ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดน ไทย- มาเลเซีย ดังนั้นลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
ที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก
เป็นต้น
รูปแบบของวงมังคละเภรีหรือที่เรียกกันว่า วงปี่กลอง นั้นเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีประกอบ ด้วย กลอง 4 ใบ และปี่ 1 เลา ซึ่งในประเทศไทย มีวงดนตรีที่มีลักษณะและรูปแบบของวงดนตรีที่คล้ายคลึงกับวงมังคละเภรีปรากฏ ได้แก่
2.4.1 วงบัวลอย
วงบัวลอย หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันว่าวงปี่ชวากลองแขก คำว่าบัวลอย เป็นชื่อของ
การบรรเลงดนตรีลักษณะหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วย ปี่ชวา กลองแขก และฆ้องเหม่ง (ลักษณะเหมือนฆ้องโหม่ง แต่ขนาดเล็กกว่า ใช้ไม้ตีที่แข็งกว่า และนิยมใช้มือหิ้วตีในขณะบรรเลง)
วงบัวลอยมักจะใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานศพ แต่เดิมวงบัวลอยประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่เรียกกันว่า “กลองสี่ปี่หนึ่ง” ซึ่งประกอบด้วย กลองแขก 4 ลูก และปี่ชวา 1 เลา แต่ภายหลังได้
ลดจำนวนกลองเหลือ 2 ลูก สำหรับกลองที่เรียกว่ากลองแขก มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่มีสายโยง
ทำด้วยหวาย เรียกว่ากลองแขกซึ่งใช้ในการมงคลต่างๆ อีกชนิดหนึ่งได้แก่
ชนิดที่สายโยงทำด้วยหนังเรียกว่ากลองมาลายูใช้แต่เฉพาะในงานอวมงคลต่างๆ
(http://x. thaikids.com:ออนไลน์.10 มกราคม 2553) การผสมวงปี่พาทย์กลองแขก การผสมวงประเภทนี้มี 2 ชนิด คือ เครื่องที่ใช้กลองมลายู และเครื่องที่ใช้กลองแขก การผสมวงเครื่องกลองมลายู เดิมใช้ปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 4 ลูก และฆ้องเหม่ง 1 ใบ เครื่องกลองมลายูนี้แต่เดิมใช้ในกระบวน
พยุหยาตราและกระบวนแห่ต่างๆ ต่อมามีการนำไปใช้ในกระบวนแห่พระบรมศพและพระศพเจ้านาย เมื่อใช้ในกระบวนแห่พระศพดังกล่าวจึงมีการนำไปใช้เป็นเครื่องประโคมศพโดยทั่วไปด้วย ต่อมามีการลดจำนวนกลองมลายูลงเหลือเพียง 2 ลูก การผสมวงเครื่องกลองแขก ประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา ผสมกับกลองแขก 1 คู่ และฆ้องโหม่ง 1 ใบ แต่ปัจจุบันมักใช้ฉิ่งแทนฆ้องโหม่งเป็นส่วนมาก
เครื่องกลองแขกนี้เดิมจะใช้ประกอบการฟ้อนรำอย่างแขก เช่น รำกริช เป็นต้น ต่อมามีการนำมาใช้กับรำกระบี่กระบอง จนกระทั่งถึงการชกมวยอย่างที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ นอกจากใช้ประกอบการฟ้อนรำแล้ว ภายหลังยังมีการใช้เครื่องกลองแขกประกอบในกระบวนแห่ด้วย เช่น กระบวนแห่โสกันต์
เป็นต้น
การบรรเลงดนตรีลักษณะหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วย ปี่ชวา กลองแขก และฆ้องเหม่ง (ลักษณะเหมือนฆ้องโหม่ง แต่ขนาดเล็กกว่า ใช้ไม้ตีที่แข็งกว่า และนิยมใช้มือหิ้วตีในขณะบรรเลง)
วงบัวลอยมักจะใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานศพ แต่เดิมวงบัวลอยประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่เรียกกันว่า “กลองสี่ปี่หนึ่ง” ซึ่งประกอบด้วย กลองแขก 4 ลูก และปี่ชวา 1 เลา แต่ภายหลังได้
ลดจำนวนกลองเหลือ 2 ลูก สำหรับกลองที่เรียกว่ากลองแขก มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่มีสายโยง
ทำด้วยหวาย เรียกว่ากลองแขกซึ่งใช้ในการมงคลต่างๆ อีกชนิดหนึ่งได้แก่
ชนิดที่สายโยงทำด้วยหนังเรียกว่ากลองมาลายูใช้แต่เฉพาะในงานอวมงคลต่างๆ
(http://x. thaikids.com:ออนไลน์.10 มกราคม 2553) การผสมวงปี่พาทย์กลองแขก การผสมวงประเภทนี้มี 2 ชนิด คือ เครื่องที่ใช้กลองมลายู และเครื่องที่ใช้กลองแขก การผสมวงเครื่องกลองมลายู เดิมใช้ปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 4 ลูก และฆ้องเหม่ง 1 ใบ เครื่องกลองมลายูนี้แต่เดิมใช้ในกระบวน
พยุหยาตราและกระบวนแห่ต่างๆ ต่อมามีการนำไปใช้ในกระบวนแห่พระบรมศพและพระศพเจ้านาย เมื่อใช้ในกระบวนแห่พระศพดังกล่าวจึงมีการนำไปใช้เป็นเครื่องประโคมศพโดยทั่วไปด้วย ต่อมามีการลดจำนวนกลองมลายูลงเหลือเพียง 2 ลูก การผสมวงเครื่องกลองแขก ประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา ผสมกับกลองแขก 1 คู่ และฆ้องโหม่ง 1 ใบ แต่ปัจจุบันมักใช้ฉิ่งแทนฆ้องโหม่งเป็นส่วนมาก
เครื่องกลองแขกนี้เดิมจะใช้ประกอบการฟ้อนรำอย่างแขก เช่น รำกริช เป็นต้น ต่อมามีการนำมาใช้กับรำกระบี่กระบอง จนกระทั่งถึงการชกมวยอย่างที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ นอกจากใช้ประกอบการฟ้อนรำแล้ว ภายหลังยังมีการใช้เครื่องกลองแขกประกอบในกระบวนแห่ด้วย เช่น กระบวนแห่โสกันต์
เป็นต้น
2.4.2 วงปี่พาทย์เครื่องห้า
วงปี่พาทย์เครื่องห้าสามารถแบ่งออกเป็นเครื่องอย่างเบาและอย่างหนัก เครื่องอย่างเบานั้นใช้สำหรับบรรเลงประกอบการเล่นโนห์ราชาตรีเท่านั้น เรียกว่าวงปี่พาทย์ชาตรี ในสมัย
กรุงศรีอยุธยาเรียก ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา เพราะมีน้ำหนักเบาใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี ต่อมาจึงเรียกชื่อตามละคร เครื่องดนตรี ประกอบด้วยปี่นอก 1 เลา ทับ (โทนไม้) 2 ใบกลองชาตรี 1 ใบ ฆ้องคู่ 1 ชุด และฉิ่ง 1 คู่ สำหรับทับบางครั้งใช้เพียงใบเดียว แต่เดิมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนักสำหรับบรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และหนังใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
วงปี่พาทย์เครื่องห้าดังกล่าวนี้ประกอบด้วย ปี่ 1 เลา ระนาดเอก 1 ราง ฆ้องวงใหญ่ 1 วง ตะโพน 1 ใบ และกลองทัด 1 ลูก
กรุงศรีอยุธยาเรียก ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา เพราะมีน้ำหนักเบาใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี ต่อมาจึงเรียกชื่อตามละคร เครื่องดนตรี ประกอบด้วยปี่นอก 1 เลา ทับ (โทนไม้) 2 ใบกลองชาตรี 1 ใบ ฆ้องคู่ 1 ชุด และฉิ่ง 1 คู่ สำหรับทับบางครั้งใช้เพียงใบเดียว แต่เดิมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนักสำหรับบรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และหนังใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
วงปี่พาทย์เครื่องห้าดังกล่าวนี้ประกอบด้วย ปี่ 1 เลา ระนาดเอก 1 ราง ฆ้องวงใหญ่ 1 วง ตะโพน 1 ใบ และกลองทัด 1 ลูก
2.4.3 วงตุ๊บเก่ง
ตุ๊บเก่ง เป็นชื่อของวงดนตรีชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับวงดนตรีกาหลอ
ในภาคใต้ วงตุ๊บเก่งเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของชาวเพชรบูรณ์ ใช้บรรเลงในงานศพของชาวบ้านสะเดียงในเขตอำเภอเมืองและอำเภอใกล้เคียง เป็นดนตรีพื้นบ้านที่มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี ประเภท
เครื่องดนตรี เพลงที่บรรเลงจะเป็นเพลงบรรเลงเล่นในงานศพ งานเทศกาลสงกรานต์
งานอุ้มพระดำน้ำ แต่ละวงจะมีผู้เล่นห้าคน เครื่องดนตรีประกอบด้วย ฆ้องกระแต หนึ่งใบ ฆ้องโหม่งสองใบ กลองสองหน้า สองใบ ปี่แต้ สองเลา เพลงที่เล่น มีประมาณ 32 เพลง แต่ที่นิยมมีเพียง 8 - 9 เพลง คือ เพลงสาธุการ เพลงสามใบหยัก เพลงปลงศพ เพลงเดินหน เพลงแก้วน้อยดับไฟ
เพลงตะเข้ลากหาง เพลงนางช้อง และเพลงแกะชนกัน
ในภาคใต้ วงตุ๊บเก่งเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของชาวเพชรบูรณ์ ใช้บรรเลงในงานศพของชาวบ้านสะเดียงในเขตอำเภอเมืองและอำเภอใกล้เคียง เป็นดนตรีพื้นบ้านที่มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี ประเภท
เครื่องดนตรี เพลงที่บรรเลงจะเป็นเพลงบรรเลงเล่นในงานศพ งานเทศกาลสงกรานต์
งานอุ้มพระดำน้ำ แต่ละวงจะมีผู้เล่นห้าคน เครื่องดนตรีประกอบด้วย ฆ้องกระแต หนึ่งใบ ฆ้องโหม่งสองใบ กลองสองหน้า สองใบ ปี่แต้ สองเลา เพลงที่เล่น มีประมาณ 32 เพลง แต่ที่นิยมมีเพียง 8 - 9 เพลง คือ เพลงสาธุการ เพลงสามใบหยัก เพลงปลงศพ เพลงเดินหน เพลงแก้วน้อยดับไฟ
เพลงตะเข้ลากหาง เพลงนางช้อง และเพลงแกะชนกัน
2.4.4 วงตึ่งนง
วงตึ่งนง หรือตึ่งโนง เป็นชื่อของวงดนตรีของภาคเหนือ ตึ่งนง เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องเป่าได้แก่ “แน” มี 2 เลา คือ แนหน้อยและแนหลวง เครื่องตีได้แก่ ฆ้องขนาดใหญ่ (เรียก-ก๊องอุ้ย) ฆ้องขนาดกลาง (เรียก-ก๊องโหย้ง) ฉาบใหญ่ (เรียก-สว่า) กลองขนาดเล็กหุ้มสองหน้าที่เรียกว่า “กลองตะหลดปด” และกลองแอว ชื่อของวงตึ่งนงนั้นสันนิษฐานว่าได้มาจากเสียงกลองแอวที่มีเสียง “ตึ่ง” รับกับเสียงฆ้องที่มีเสียง “นง” ใช้สำหรับประโคมในงานบุญต่างๆของวัด ขบวนแห่ครัวทาน แห่ต้อนรับหัววัด เมื่อมีงานฉลองศาสนสถานของวัดที่เรียกว่า “ปอยหลวง” แห่ประกอบการฟ้อนเล็บ และแห่เป็นมหรสพฉลองงานที่เรียกว่า “อุ่นงัน” เป็นต้น วงตึ่งโนง มีลักษณะเด่นอยู่ที่กลองแอว ซึ่งเป็นกลองขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างคอด เป็นกลองที่มีเสียงก้องกังวาน สามารถสะกดคนฟังได้ทุกครั้งที่มีบรรเลง
2.4.5 วงตุ้มโมง
ตุ้มโมง คือชื่อของวงดนตรีประโคมศพของคนไทยเชื้อสายเขมรในประเทศไทย หรือชื่อ ตุมมิง, ตมมอง ซึ่งเป็นดนตรีประโคมศพของชาวเขมรในภาคตะวันตก-ตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา มีองค์ประกอบของเสียงดนตรีอย่างน้อย 3 ชนิด คือ กลองขนาดใหญ่ (กลองเพลหรือกลองทัด เขมรเรียก “สกอร์ธม”), ฆ้องหุ่ยขนาดใหญ่ และปี่ (เขมรฝั่งไทยใช้ปี่ขนาดเล็กที่เรียก “ปี่เน” หรือ “ปี่ไฉน” บางทีก็เป็น “ปี่อ้อ”, เขมรใช้ปี่เล็ก เรียก “สราไลโต๊ช”) หัวใจสำคัญของวงตุ้มโมงคือเสียงฆ้อง ที่จะตีเสียงดังกังวานทั้งวันทั้งคืนเพื่อส่งวิญญานคนตาย ส่วนกลองจะตีแทรกเป็นระยะ และปี่เป่าทำนองเพลงโศกเป็นบางเวลา เพลงที่ถือว่าเป็นเสียงประจำ เช่น แซรกยม โต๊ะยม เป็นต้น ตุ้มโมงเป็นดนตรีพื้นบ้านที่ใช้บรรเลงประโคมในงานศพเท่านั้น และจะเล่นแต่ในเวลากลางคืน เครื่องดนตรีของวงตุ้มโมงประกอบด้วย
1. ฆ้องโหม่ง 1 ใบ (เป็นเครื่องดนตรีหลัก) โดยถือว่าเสียงของฆ้องโหม่งเป็นเสียงแห่งความเศร้าโศกและความอัปมงคล
2. กลองเพลขนาดใหญ่ 1 ใบ
3. ปี่ไฉน (หรือปี่ไนในสำเนียงเขมร) แต่บางทีก็ใช้ปี่อ้อแทน
4. ฆ้องราว (จำนวน 9 ใบ)
เหตุที่เรียกว่า ตุ้มโมง หรือ ตี๊มูง ก็เพราะเสียงที่ดังที่สุดและดังไปไกลในเวลากลางคืนที่เงียบสงัดนั้นจะได้ยินเสียงดัง ตุ้ม หรือ ทุ่ม อีกสักพักหนึ่งก็จะได้ยินเสียง โหม่ง หรือ โมง ของฆ้องโหม่ง
ดังตามมา สลับกันไปเช่นนี้ตลอดทั้งคืน
ดังตามมา สลับกันไปเช่นนี้ตลอดทั้งคืน
2.4.6 วงกาหลอ
ดนตรีกาหลอมิได้เกิดขึ้นจากสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวใต้ แต่เป็น
วงดนตรีของชาวอินเดียที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ตั้งแต่ก่อนพุธศตวรรษที่ 13 โดยชาวมลายูใช้ดนตรีกาหลอเป็นเครื่องดนตรีประโคมในงานศพ เพื่อให้วิญญาณผู้ตายเป็นเครื่องสักการะแก่
พระอิศวรหรือพระกาล เหตุผลที่มีความเชื่อเช่นนี้ เพราะวงดนตรีกาหลอมีความผูกพันกับระบบ
ความเชื่อและพิธีกรรม ซึ่งตรงกับวิถีทางของศาสนาพราหมณ์ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งพิธีกรรม
(ภัทรวรรณ จันทร์ธิราช.2539 : 7) ลักษณะของวงกาหลอประกอบด้วยปี่กาหลอ หรือปี่อ้อ ทน(กลอง)และ ฆ้อง ลักษณะของวงเช่นนี้ ปรากฏในสังคมไทยในแต่ละภูมิภาค ภาคเหนือ เช่น วงตึ่งนง วงมังคละภาคกลาง เช่น วงกลองแขก วงบัวลอย วงปี่ไฉน กลองชนะ วงเปิงพรวด ภาคอีสาน เช่น
วงตุ้มโมง ภาคใต้ เช่น วงกาหลอ วงปี่พาทย์ วงชาตรี วงสิละ
วงดนตรีของชาวอินเดียที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ตั้งแต่ก่อนพุธศตวรรษที่ 13 โดยชาวมลายูใช้ดนตรีกาหลอเป็นเครื่องดนตรีประโคมในงานศพ เพื่อให้วิญญาณผู้ตายเป็นเครื่องสักการะแก่
พระอิศวรหรือพระกาล เหตุผลที่มีความเชื่อเช่นนี้ เพราะวงดนตรีกาหลอมีความผูกพันกับระบบ
ความเชื่อและพิธีกรรม ซึ่งตรงกับวิถีทางของศาสนาพราหมณ์ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งพิธีกรรม
(ภัทรวรรณ จันทร์ธิราช.2539 : 7) ลักษณะของวงกาหลอประกอบด้วยปี่กาหลอ หรือปี่อ้อ ทน(กลอง)และ ฆ้อง ลักษณะของวงเช่นนี้ ปรากฏในสังคมไทยในแต่ละภูมิภาค ภาคเหนือ เช่น วงตึ่งนง วงมังคละภาคกลาง เช่น วงกลองแขก วงบัวลอย วงปี่ไฉน กลองชนะ วงเปิงพรวด ภาคอีสาน เช่น
วงตุ้มโมง ภาคใต้ เช่น วงกาหลอ วงปี่พาทย์ วงชาตรี วงสิละ
2.4.7 วงเปิงพรวด
วงเปิงพรวด เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเฉพาะงานพระศพของเจ้านายชั้นหม่อมราชวงศ์ขึ้นไป หรือบุคคลชั้นสูงที่พระราชทานวงเปิงพรวด มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บรรเลงในงานรดน้ำศพหรือพระราชทานเพลิงศพ นอกจากนี้ยังใช้รูปแบบของวงประโคมเพื่อใช้ในขบวนแห่พระบรมศพและพระศพเจ้านาย และนำขบวนพยุหยาตรา เครื่องดนตรีประกอบด้วย ประกอบด้วยวงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ ใช้สำหรับประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมงคือ ยาม 1 เวลา 06.00 น.
ยาม 2 เวลา 09.00 น. ยาม 3 เวลา 12.00 น. ยาม 4 เวลา 15.00 น. ยาม 5 เวลา 18.00 น. ยาม 6 เวลา 21.00 น. ยาม 7 เวลา 24.00 น.
ยาม 2 เวลา 09.00 น. ยาม 3 เวลา 12.00 น. ยาม 4 เวลา 15.00 น. ยาม 5 เวลา 18.00 น. ยาม 6 เวลา 21.00 น. ยาม 7 เวลา 24.00 น.
2.4.8 วงเทิ้งบ้อง,วงกลองยาว
วงเทิ้งบ้อง หรือวงกลองยาว เป็นวงดนตรีที่นิยมเล่นกันในทั่วทุกภาคของ
ประเทศไทย ใช้สำหรับแห่ในงานรื่นเริงทั่วไป เช่น งานแห่ขบวนกฐิน ผ้าป่า แห่นาค หรืองานเทศกาลต่างๆ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่ 1 เลา (อาจเป็นปี่ชวาหรือปี่ในท้องถิ่น) กลองยาวไม่จำกัดจำนวน ฆ้อง1 ใบ ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
ประเทศไทย ใช้สำหรับแห่ในงานรื่นเริงทั่วไป เช่น งานแห่ขบวนกฐิน ผ้าป่า แห่นาค หรืองานเทศกาลต่างๆ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่ 1 เลา (อาจเป็นปี่ชวาหรือปี่ในท้องถิ่น) กลองยาวไม่จำกัดจำนวน ฆ้อง1 ใบ ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง