ชื่อเพลงที่ใช้บรรเลง
จากการสืบค้นข้อมูลในส่วนของชื่อที่ใช้เรียกเรียกในการบรรเลงดนตรีมังคละเภรีที่ใช้ในกลุ่ม 3 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างลุ่มน้ำยมและน่าน ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดอุตรดิตถ์นั้น สามารถอนุมานได้ว่ามีการปะทะสังสรรค์กันทางวัฒนธรรม โดยหากสังเกตจากชื่อของแต่ละเพลงแล้ว พบว่าล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิศาสตร์ วิถีชีวิตของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นที่มีดนตรีมังคละด้วยกันทั้งสิ้น ดังนี้
2.2.1.1 จังหวัดพิษณุโลกการเล่นดนตรีมังคละของจังหวัดพิษณุโลกนั้น แต่เดิมนั้นบรรเลงอย่างเดียว และใช้บรรเลงในเวลาแห่นาคเข้าวัด งานทอดผ้าป่า งานสงกรานต์ งานทอดกฐิน เป็นต้น เพลงที่บรรเลงชาวบ้านได้เป็นผู้คิดจังหวะและตั้งชื่อเองมีจำนวน 38 เพลง ดังนี้
1. เพลงไม้หนึ่ง
2. เพลงไม้สอง
3. เพลงไม้สาม
4. เพลงไม้สามกลับ
5. เพลงไม้สามถอยหลัง
6. เพลงไม้สี่
7. เพลงกระทิงเดินดง
8. เพลงกระทิงนอนปลัก
9. เพลงกระทิงกินโป่ง
10. เพลงเก้งตกปลัก
11. เพลงข้ามรับ-ข้ามส่ง
12. เพลงข้าวต้มบูด
13. เพลงคางคกเข็ดเขี้ยว
14. เพลงคลื่นกระทบฝั่ง
15. เพลงคุดทะราดเหยียดกรวด
16. เพลงตกปลัก (อีเก้งตกปลัก)
17. เพลงตกตลิ่ง
18. เพลงตุ๊กแกตีนปุก
19. เพลงถอยหลังลงคลอง (ถอยหลังเข้าคลอง)
20. เพลงนมยานกระทกแป้ง
21. เพลงนารีชื่นชม
22.เพลงบัวโรย
23. เพลงบัวลอย
24. เพลงใบไม้ร่วง (ใบไผ่ร่วง)
25. เพลงปลักใหญ่
26. เพลงพญาเดิน
27. เพลงแพะชนกัน
28. เพลงแม่หม้ายนมยาน
29. เพลงรักซ้อน
30. เพลงรักแท้
31. เพลงรักเร่ (สาวน้อยประแป้ง, เพลงรำ)
32. เพลงรักลา
33. เพลงลมพัดชายเขา
34. เพลงเวียนเทียน
35. เพลงเวียนโบสถ์
36. เพลงสาลิกาลืมดง
37. เพลงสาวน้อยประแป้ง
38. เพลงหิ่งห้อยชมสวน
สำหรับเพลงมังคละที่มีการบันทึกเป็นโน้ต ซึ่งอาจารย์ครองศักดิ์ ภุมรินทร์เป็นผู้จดบันทึกไว้มีจำนวน 21 เพลง ดังนี้
1. เพลงไม้หนึ่ง
2. เพลงไม้สอง
3. เพลงไม้สาม
4. เพลงไม้สี่ (เพลงครู)
5. เพลงบัวลอย
6. เพลงถอยหลังลงคลอง (ถอยหลังเข้าคลอง)
7. เพลงใบไม้ร่วง (ใบไผ่ร่วง)
8. เพลงตกปลัก (อีเก้งตกปลัก)
9. เพลงนมยานกระทกแป้ง
10. เพลงตุ๊กแกตีนปุก
11. เพลงคางคกเข็ดเขี้ยว
12. เพลงแพะชนกัน
13. เพลงคุดทะราดเหยียดกรวด
14. เพลงข้าวต้มบูด
15. เพลงกระทิงกินโป่ง
16. เพลงพญาเดิน
17. เพลงตีนตุ๊กจะ
18. เพลงกวางเดินดง
19. เพลงบัวโรย
20. เพลงรักแท้
21. เพลงรักเร่ (สาวน้อยประแป้ง, เพลงรำ)
2.2.1.2 จังหวัดสุโขทัย เพลงที่ใช้บรรเลงดนตรีมังคละของจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ไม่มีเนื้อร้อง มีแต่การพาทย์ คือ การบอกว่าตอนนี้รำท่านี้ จะใช้เพลงทำนองนี้ โดยชื่อเพลงมังคละของอำเภอกงไกรลาศที่สามารถรวบรวมได้ มีดังนี้ (จิรวรรณ ศรีสกุล. 2549: 15)
1. เพลงเชิญครู
2. เพลงสองไม้
3. เพลงสามไม้
4. เพลงไอ้ค่างเข่นเขี้ยว
5. เพลงใบปี่
6. เพลงบายศรี
สำหรับชื่อเพลงที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย (2551:67-68) สามารถรวบรวมไว้ได้ มีดังนี้
1. เพลงไม้หนึ่ง
2. เพลงไม้สอง
3. เพลงกบเข่นเขี้ยว
4. เพลงแม่ม่ายกะทิกแป้ง
5. เพลงตกปลัก
6. เพลงกวางเดินดง
7. เพลงคุดทะราดเหยียบกรวด
8. เพลงไทรย้อย
9. เพลงย่ำค่ำ- จูงนางเข้าห้อง
10. เพลงกาจับหลัก
11. เพลงหมูกัดแกนโคนบอน
12. เพลงเข็นครกขึ้นเขา
13. เพลงถอยหลังลงคลอง
14. เพลงเวียนเทียน
15. เพลงสาวน้อยปะแป้ง
16. เพลงไผ่ร่วง
17. เพลงลมพัดชายเขา
18. เพลงนกกระเด้าดิน
19. เพลงหงส์เหิร
นอกจากนี้วงมังคละของตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัยที่สามารถรวบรวมไว้ได้มีจำนวน 20 เพลง (www.bansuan.net :ออนไลน์.10 มกราคม 2553) ประกอบด้วย
1. เพลงไม้หนึ่ง
2. เพลงไม้สอง
3. เพลงไม้สาม
4. เพลงไม้สี่
5. เพลงบัวลบ
6. เพลงไทรย้อย
7. เพลงตกปลักเล็ก
8. เพลงตกปลักใหญ่
9. เพลงถอยหลังลงคลอง
10. เพลงพญาโศก
11. เพลงลมพัดชายเขา
12. เพลงย่ำค่ำ
13. เพลงจูงนางเข้าห้อง
14. เพลงกบเข่นเขี้ยว
15. เพลงแม่หม้ายกระทบแป้ง
16. เพลงสาวน้อยปะแป้ง
17. เพลงอีกาจับหลัก
18. เพลงเวียนเทียน
19. เพลงพระฉันภัตตาหาร
20. เพลงนางหงส์ (ใช้สำหรับแห่ศพ)
2.2.1.3 จังหวัดอุตรดิตถ์ เพลงที่ใช้บรรเลงในวงมังคละเภรีของจังหวัดอุตรดิตถ์ใน
อตีตนั้น ไม่ได้มีการบันทึกไว้ทำให้ชื่อและจำนวนเพลงหายสาบสูญไป จากการสัมภาษณ์ ผู้ใหญ่ กระทรวง สินหลักร้อย (สัมภาษณ์ 22 พฤษภาคม 2553) หัวหน้าวงมังคละ หมู่ 3 บ้านกองโค อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ว่าเพลงที่ใช้เท่าที่จำได้ มีดังนี้
อตีตนั้น ไม่ได้มีการบันทึกไว้ทำให้ชื่อและจำนวนเพลงหายสาบสูญไป จากการสัมภาษณ์ ผู้ใหญ่ กระทรวง สินหลักร้อย (สัมภาษณ์ 22 พฤษภาคม 2553) หัวหน้าวงมังคละ หมู่ 3 บ้านกองโค อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ว่าเพลงที่ใช้เท่าที่จำได้ มีดังนี้
1. เพลงไม้หนึ่ง
2. เพลงไม้สอง
3. เพลงไม้สี่
4. เพลงกวางเดินดง
5. เพลงสุขจริงๆ
เป็นที่น่าสังเกตว่าชื่อของเพลงที่ใช้บรรเลงส่วนใหญ่จะสามารถบอกเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนในอดีตได้เป็นอย่างดี ทั้งทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ เช่น
1) เพลงที่มีชื่อเรียกเป็นไม้ เช่น เพลงไม้หนึ่ง เพลงไม้สอง เพลงไม้สามรุดหน้า เพลงไม้สามถอยหลัง เพลงไม้หนึ่งไม้สาม เพลงไม้สามกลับและเพลงไม้สี่ เพลงต่างๆนี้เปรียบเสมือนเป็น เพลงฝึกหัดในขั้นพื้นฐาน โดยเรียงลำดับตามความยากง่าย
2) เพลงที่เกี่ยวกับความรัก เช่น เพลงรักซ้อน เพลงรักแท้ เพลงรักเร่ และเพลงรำ เพลงดังกล่าวเป็นเพลงที่มีกระสวนจังหวะค่อนข้างเรียบ ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน
3) เพลงที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น เพลงคางคดเข็ดเขี้ยว เพลงแพะชนกัน เพลงกระทิงกินโป่ง เพลงกวางเดินดง เพลงตุ๊กแก เพลงปลักใหญ่ เพลงคลื่นกระทบฝั่ง และเพลงสาริกาลืมดง เพลงเหล่านี้ตั้งชื่อตามจินตนาการ จากการเลียนแบบธรรมชาติที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวันและนำมาคิดประดิษฐ์
4) เพลงที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต เช่น เพลงข้าวต้มบูด เพลงแม่หม้ายนมยาน เพลงนมยานกระทกแป้ง เพลงเวียนเทียน เพลงเวียนโบสถ์ เพลงถอยหลังลงคลอง เพลงข้ามรับ-ข้ามส่ง เพลงครุดราดเหยียบกรวด เพลงสุขจริงๆ เพลงพญาเดิน และเพลงรำ โดยเพลงเหล่านี้เป็นการจินตนาการจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมในยุคนั้นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น